ความเชื่อบางประการของชีอะฮฺ
อับดุลลอฮฺ บิน มุหัมมัด อัล สะละฟีย์ เขียน  
  จำนวนการเข้าชม : 144675  
ความเชื่อบางประการของชีอะฮฺ
     ความเชื่อบางประการของชีอะฮฺ
     คำนิยม
     คำนำผู้แปล
     คำนำผู้เขียน
     รอฟิเฎาะฮฺ กำเนิดขึ้นเมื่อใด ?
     ทำไมชีอะฮฺจึงได้ชื่อว่า “รอฟิเฎาะฮฺ” ?
     รอฟิเฎาะฮฺ แตกออกเป็นกี่พวก ?
     รอฟิเฎาะฮฺ มีความเชื่ออย่างไรเกี่ยวกับ “อัลบะดาอฺ”?
     รอฟิเฎาะฮฺมีความเชื่ออย่างไรเกี่ยวกับคุณลักษณะของอัลลอฮฺ ?
     รอฟิเฎาะฮฺมีความเชื่ออย่างไรเกี่ยวกับ อัลกุรอานที่มีอยู่ ซึ่งอัลลอฮฺได้ทรงสัญญาว่าจะพิà
     รอฟิเฎาะฮฺมีความเชื่อย่างไร ต่อบรรดาเศาะหาบะฮฺท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิวะสัลลัม ?
     รอฟิเฎาะฮฺ และยิว มีส่วนคล้ายกันเช่นไร ?
     รอฟิเฎาะฮฺมีความเชื่อเกี่ยวกับบรรดาอิมาม อย่างไร ?
     รอฟิเฎาะฮฺมีความเชื่อเกี่ยวกับ อัล ร็อจอะฮฺ (การฟื้นอีกครั้ง) อย่างไร?
     อะไรคือความเชื่อ อัตตะกียะห์ (การเสแสร้ง) ของพวกรอฟิเฎาะฮฺ ?
     อะไรคือความเชื่อ อัต ตีนะห์ (ดินศักดิ์สิทธิ์) ของพวกรอฟิเฎาะฮฺ ?
     รอฟิเฎาะฮฺมีความเชื่ออย่างไรต่อชาวสุนนีย์ (อะฮฺลิสสุนนะห์ วัลญะมาอะห์) ?
     อะไรคือ มุตอะห์ และมีความพิเศษเช่นไรในความเชื่อของรอฟิเฎาะฮฺ ?
     อะไรคือความเชื่อของรอฟิเฎาะฮฺเกี่ยวกับเมือง นัจฟ และ กัรบาลาอ์ และมีความพิเศษในการเยี่ยà¸
     อะไรคือแนวความขัดแย้งระหว่างชีอะฮฺ รอฟิเฎาะฮฺ และอะฮฺลิสสุนนะห์ ?
     อะไรคือความเชื่อของรอฟิเฎาะฮฺเกี่ยวกับวันอาชูรออ์ (วันที่ 10 มุหัรร็อม) และมันสำคัญเช่นไร ?
     อะไรคือความเชื่อของรอฟิเฎาะฮฺเกี่ยวกับบัยอะห์(การให้คำปฏิญาณต่อคอลีฟะห์) ?
     ความพยายามที่จะรวมความคิดของ อะฮฺลิสสุนนะห์และความคิดของรอฟิเฎาะฮฺ ให้เข้ากัน ทำได้หรืà
     อุลามาอ์รุ่นก่อนและรุ่นหลังมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับรอฟิเฎาะฮฺ ?
     สูเราะฮฺ อัล วิลายะห์ ตามความเชื่อของ รอฟิเฎาะฮฺ
     แผ่นกระดานของฟาติมะห์ ตามคำอ้าง
     ดุอาสองเจว็ดแห่งเผ่ากุเรช
     บทส่งท้าย
     หนังสืออ้างอิงที่เราขอเสนอเพื่อใช้โต้พวก รอฟิเฎาะฮฺ
     เว็ปไซต์ที่สำคัญ ที่เราขอเสนอเพื่อใช้โต้พวก ชีอะฮฺรอฟิเฏาะฮฺ ที่นับถืออิมามสิบสอง
 
อะไรคือ มุตอะห์ และมีความพิเศษเช่นไรในความเชื่อของรอฟิเฎาะฮฺ ?

มุตอะห์ หรือ การสมรสชั่วคราว ในความเชื่อของรอฟิเฎาะฮฺ มีความสำคัญที่พิเศษ – ขออัลลอฮฺทรงให้เรารอดพ้นจากความเชื่อนี้ – ในหนังสือ มันฮัญ อัศศอดิกีน โดย ฟัตหุลลอฮฺ อัล กาชานีย์  ได้รายงานจาก อัศศอดิก ว่า : มุตอะห์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาฉันและศาสนาของบรรพบุรุษของฉัน ผู้ใดที่ปฏิบัติมัน ย่อมแสดงว่าเขาได้ยึดถือศาสนาของเรา ผู้ใดที่ปฏิเสธมัน ผู้นั้นก็คือผู้ปฏิเสธศาสนาของเรา หนำซ้ำผู้นั้นคือผู้ที่ปฎิบัติตามศาสนาอื่น บุตรที่ได้จากการมุตอะห์ดีกว่าที่ได้จากภรรยาผู้เป็นคู่ชีวิต และผู้ใดที่ปฏิเสธมุตอะห์ ย่อมต้องเป็นกาฟิรมุรตัด [1]

อัล กุมมีย์ ในหนังสือ มัน ลา ยะห์ฏูรฮุ อัลฟะกีฮ  ได้รายงานจาก อับดุลลอฮฺ บิน สินาน จากอบู อับดิลลาฮฺ ว่า :  à¹à¸—้จริง อัลลอฮผู้ทรงบารอกัตและสูงส่งนั้น ได้ห้ามชีอะฮฺจากของมึนเมาในหมู่เครื่องดื่ม และได้ทดแทนมันด้วยมุตอะห์ [2]

ในหนังสือ ตัฟซีร มันฮัญ อัศศอดิกีน โดย มุลลา   ฟัตหุลลอฮฺ อัลกาชานีย์ รายงานว่า “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า : ผู้ใดที่ทำการมุตอะห์หนึ่งครั้ง เขาจะได้รับการปลดปล่อยจากไฟนรกหนึ่งส่วนสาม ผู้ใดที่ทำการมุตอะห์สองครั้งเขาจะรับการปลดปล่อยจากไฟนรกสองส่วนสาม และผู้ใดทำการมุตอะห์สามครั้งเขาจะได้รับการปลดปล่อยจากไฟนรกทั้งหมด”

จากอ้างอิงเดียวกัน “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า : ผู้ใดที่ทำการมุตอะห์หนึ่งครั้งเขาจะปลอดภัยจากการโกรธกริ้วของผู้ทรงยิ่งใหญ่ ผู้ใดที่ทำการมุตอะห์สองครั้งเขาจะเข้าร่วมกับฝูงชนที่ทำความดี และผู้ใดที่ทำมุตอะห์สามครั้งเขาจะมาร่วมอยู่กับฉันในสวนสวรรค์”

รายงานจากอ้างอิงดังกล่าวอีกเช่นกัน “ท่านนบี  à¸¨à¹‡à¸­à¸¥à¸¥à¸±à¸¥à¸¥à¸­à¸®à¸º อะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า : ผู้ใดที่ทำการมุตอะห์หนึ่งครั้ง ตำแหน่งของเขาเสมือนกับหุเสน ผู้ใดที่ทำการมุตอะห์สองครั้งตำแหน่งของเขาเสมือนกับหะสัน ผู้ใดที่ทำการมุตอะห์สามครั้ง ตำแหน่งของเขาเสมือนอาลี บิน อบีตอลิบ และผู้ใดทำการมุตอะห์สี่ครั้งตำแหน่งของเขาเสมือนกับฉัน”[3]

 

รอฟิฎอฮฺ ไม่ได้กำหนดจำนวนที่แน่นอนสำหรับการมุตอะห์ ใน ฟุรูอฺ อัลกาฟีย์, อัตตะห์ซีบ และ อัล อิสติบฺศอร จาก ซุรอรอฮฺ กล่าวว่า : ฉันได้ถาม อบี อับดิลลาฮฺ เกี่ยวกับมุตอะห์ ว่าเฉพาะสี่คนเท่านั้นหรือ ? ท่านตอบว่า : จงสมรสกับพวกนางได้เป็นพัน เพราะแท้จริงพวกนางคือสตรีที่ถูกจ้าง และรายงานจาก มุหัมมัด บิน มุสลิม จากอบี ญะฟัร กล่าวว่า : มุตอะห์ไม่ใช่เฉพาะสี่ เพราะไม่มีการหย่าสำหรับพวกนาง พวกนางไม่ได้รับมรดก แต่พวกนางเป็นพวกที่ถูกว่าจ้าง [4]

เรื่องนี้เป็นไปได้อย่างไร ในขณะที่อัลลอฮฺทรงตรัสว่า :

 ( والَّذَينَ هُم لِفُرُجِهِم حَافِظُونَ * إلا عَلَى أزوَاجِهِم أو مَا مَلَكَت أيمَانُهُم فَإنَّهُم غَيرُ مَلُمِينَ * فَمَنِ ابتَغَى وَرَاءَ ذلِكَ فَأُلئكَ هُمُ الَعادونَ )

 

ความว่า : และพวกเขา(ผู้ศรัทธาที่ได้รับความสำเร็จในอาคีรัต) คือ บรรดาผู้ที่รักษาอวัยวะเพศจากสิ่งที่หะรอม นอกเสียจากจะเป็นบรรดาภรรยาหรือเหล่าข้าทาสของพวกเขา ดังนั้นพวกเขาจึงไม่ถูกประนาม ส่วนผู้ใดที่เลยเถิดไปจากนั้น พวกเขาก็คือผู้ที่ทำเกินขอบเขต                                 [อัลมุอฺมินูน 23:5-7]

 

โองการเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ที่อนุมัตินั้นมีเฉพาะผู้เป็นภรรยาและข้าทาสเท่านั้น ที่เหลือนอกจากนี้ถือเป็นหะรอม และผู้หญิงที่เป็นมุตอะห์คือคนที่ถูกจ้างหรือถูกเช่า ดังนั้นนางจึงไม่ใช่ภรรยา ไม่ได้รับมรดกและไม่ถูกหย่า เมื่อเป็นเช่นนี้จึงถือว่านางเป็นโสเภณี –ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองเรา

ท่านเชค อับดุลลอฮฺ บิน อัล ญับรีน ได้กล่าวว่า :         à¸žà¸§à¸à¸£à¸­à¸Ÿà¸´à¹€à¸à¸²à¸°à¸®à¸ºà¹„ด้ยกอ้างการมุตอะห์ด้วยดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า :

 

 ( والمُحصَناتُ مِنَ النِّسَاءِ إلا ما مَلَكَت أيمانُكُمۖ كِتَابَ اللهِ عَلَيكُمۚ وَأُحِلَّ لكُم مّا وَرَاءَ ذلِكم أن تَبتَغُوا بِأَموالِكُم مُّحصِنِينَ غَيرَ مُسَافِحِينَۚ  فَمَا استَمتَعتُم بهَ مِنهُنَّ فَئَاتُوهُنَّ أُجُرَهُنَّ فَرِيضَةً )

 

ความว่า :  à¹à¸¥à¸°à¸šà¸£à¸£à¸”าสตรีที่มีสามี (ถือเป็นที่หะรอมสำหรับพวกเจ้า) ยกเว้นผู้ที่เป็นข้าทาสบริวาร นั่นคือกำหนดของอัลลอฮฺ และเป็นที่อนุมัตินอกเหนือจากที่กล่าวมา ด้วยการที่สูเจ้าจัดหาด้วยสมบัติของสูเจ้าโดยบริสุทธิ์และไม่เป็นการผิดประเวณี ที่สูเจ้าได้ร่วมกับพวกนางก็จงให้สินทรัพย์กับพวกนาง โดยที่การนี้เป็นเรื่องบังคับ และไม่เป็นความผิดถ้าสูเจ้าจะให้แก่พวกนางมากกว่าจำนวนที่เป็นการบังคับนั้น

                                                   [อันนิสาอฺ 4:24]

 

คำตอบก็คือ โองการเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการแต่งงาน(ไม่ได้เกี่ยวข้องกับมุตอะห์) ตั้งแต่โองการที่ 19-24 ว่า

 

( لا يَحِلُّ لَكُم أن تَرِثُوا النِّسَاءَ )

 

ความว่า : ไม่เป็นที่อนุมัติสำหรับสูเจ้าที่จะรับหญิงหม้ายเป็นมรดก...

 

 

(وإن أرَدتُّمُ استِبدَالَ زوجٍ مَّكَانَ زَوجٍ )

ความว่า : และถ้าสูเจ้าต้องการแทนภรรยาของสูเจ้าด้วยหญิงอื่น...

( ولا تَنكِحُوا مَا نَكَحَ ءابَاؤُكُم )

 

ความว่า : และจงอย่าสมรสกับผู้ที่บิดาของสูเจ้าได้สมรสแล้ว...

(حُرِّمَتْ عَلَيْكُمْ أُمَّهَاتُكُمْ )

 

ความว่า : เป็นที่ห้ามสำหรับสูเจ้าซึ่งมารดาของสูเจ้า

 

หลังที่พระองค์อัลลอฮฺได้ตรัสถึงสิ่งที่หะรอมเนื่องจากทางสายเลือดหรือสาเหตุอื่นๆในโองการข้างต้นแล้ว พระองค์ได้ตรัสต่ออีกว่า :

                                                                          

(وَأُحِلَّ لَكُمْ مَا وَرَاءَ ذَلِكُمْ )

ความว่า : และเป็นที่อนุมัตินอกเหนือจากที่กล่าวมา

 

ความหมายก็คือ อนุมัติให้แต่งงานกับผู้หญิงที่ไม่ได้กล่าวมาในโองการข้างต้น ดังนั้นเมื่อพวกเจ้าแต่งงานกับพวกนางเพื่อร่วมสุข นั่นคือการสมรสที่ถูกต้อง ก็จงจ่ายสินสอดที่พวกเจ้าต้องจ่ายให้นาง ถ้านางยอมให้พวกเจ้าลดค่าสินสอดด้วยความประสงค์ของพวกนางเองก็ถือว่าไม่ผิด เช่นนี้คือการอธิบายโองการของบรรดาศอหาบะฮฺและบรรดาผู้รู้หลังจากพวกเขา [5]

เชค อัตตออิฟะห์ อัล ตูซีย์ ในหนังสือ ตะห์ซีบ อัลอะห์กาม ได้ดูถูกและรังเกียจการนิกะห์มุตอะห์ ซึ่งเขาได้กล่าวว่า : “หากผู้สตรีนั้นจากครอบครัวที่มีเกียติ แท้จริงการมุตอะห์เป็นเรื่องที่ไม่อนุญาตสำหรับเธอ เนื่องจากจะทำให้ครอบครัวของเธอเสียเกียติแล้ว และยังทำให้เธอเป็นที่ดูถูกอีกด้วย[6]

ที่นอกเหนือจากนี้ รอฟิเฎาะฮฺ ยังเห็นว่า การร่วมเสพกับผู้หญิงทางทวารหนักนั้นเป็นสิ่งที่อนุมัติ ใน หนังสือ อัล อิสติบศอร์  มีบันทึกจาก อาลี บิน อัล หะกัม ว่า :  à¸‰à¸±à¸™à¹„ด้ฟัง ศอฟวาน เล่าว่า : ฉันได้บอกแก่ อัร รีฏอ ว่า มีชายผู้หนึ่งผู้เป็นบ่าวของท่านผู้หนึ่งต้องการถามท่านเรื่องหนึ่ง แต่เขากลัวท่านและอายที่จะพูด ดังนั้นจึงวานให้ฉันถามท่านแทน. อัร รีฎอ ถามว่า : เรื่องอะไร ? ฉันบอกว่า : ผู้ชายสามารถที่จะเสพทางทวารได้หรือไม่ ? ท่านตอบว่า : แน่นอน เขาสามารถทำเช่นนั้นได้ [7]

 

*****

 



[1] ดู  มันฮัญ อัศศอดิกีน โดย อัล มุลลา ฟัตหุลลอฮฺ อัล กาชานีย์ หน้า 2/495

 
Retour a la page principale
قسم الأخـبـار :: الدفاع عن السنة